Siamsouth.com ศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว ธรรมะ ภาคใต้
เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชนไทย
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
16 กุมภาพันธ์, 2562, 16:15:44
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Siamsouth.com ศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว ธรรมะ ภาคใต้
>
ภาคใต้
>
ศิลปวัฒนธรรม ภาคใต้
> หัวข้อ:
ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง
ผู้เขียน
หัวข้อ: ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง (อ่าน 23571 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า:
1
[
2
]
ทั้งหมด
พิมพ์
NUT
ผู้ดูแลบ้าน
ผู้อำนวยการกลาง
เพศ:
กระทู้: 9,712
สมาชิกลำดับที่ 29
Made in ดินโคลน
Re: ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง
|
|
«
ตอบ #10 เมื่อ:
12 พฤศจิกายน, 2554, 15:14:31 »
หนังตะลุง มรดกทางวัฒนธรรมภาคใต้
หนังตะลุงเป็นการเล่นพื้นบ้านที่พัฒนามาจากละครเงา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษย์ เดิมหนังตะลุงเป็นเรื่องของพราหมณ์ ดังจะเห็นได้จากการที่หนังตะลุงออกพระอิศวร ซึ่งน่าจะเป็นเครื่องชี้ถึงกลุ่มลัทธิที่นำหนังตะลุงเข้ามา น่าจะเป็นพวกที่นับถือฮินดูลัทธิไศวนิกาย คือบูชาพระอิศวรเป็นใหญ่ ลัทธินี้ถ้าดูจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสุราษฎร์ธานี แล้วน่าจะตกอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ แต่มิได้หมายความว่า หนังตะลุงจะเข้ามาพร้อมลัทธินี้ อาจจะเป็นช่วงหลังก็เป็นได้ คาดว่าไม่เลยพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เพราะตามตำนานบอกเล่าที่นายหนังตะลุงรุ่นเก่าได้ถ่ายทอดไว้เป็นบทไหว้ครูหนัง (ตอนออกรูปกาด) ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่ามีมาตั้งแต่ครั้งศรีวิชัย
รูปแบบการเล่นหนังตะลุง
- ในชั้นแรกจะเป็นอย่างไรไม่ทราบ เล่าต่อ ๆ กันมาว่า เดิมหนังเล่นบนพื้นดินในลานเตียน โล่งแจ้ง ไม่ยกโรงไม้ ขึงจอ อย่างทุกวันนี้ เล่นทั้งกลางวันและกลางคืน หนังที่เล่นเวลากลางคืนจะใช้วิธีสุมไฟหรือไต้ขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า
“ไต้ต้นช้าง”
สำหรับให้แสงสว่าง รูปหนังแกะด้วยหนังวัว หนังควาย ขนาดใหญ่สูงแค่อก
- ไม่ใช่ไม้ตีบหนังสำหรับจับเชิด แต่จะใช้เชือกร้อยต่างส่วนหัวของตัวหนังสำหรับจับถือรูปตัวหนึ่ง
- เวลาออกเชิดใช้ถือออกเชิด เต้นคนหนึ่ง การเล่นแบบนี้เรียกว่า
“รำหนัง”
ปัจจุบันบางถิ่นยังเรียกเช่นนั้น ทั้งที่หนังเลิกเต้นเชิดแล้วการเล่นลักษณะดังกล่าวออกจะยุ่งยากไม่น้อย เพราะต้องใช้คนมาก ตัวหนังก็มากและหนัก จนถึงขนาดเวลาเล่นต้องใส่เกวียนชักลาก ต่อมาหนังแขก (หนังชวา) เข้ามาเล่นในภาคใต้ และเลยขึ้นไปถึงกรุงเทพ หนังแขกนั้นเป็นหนังตัวเล็ก เล่นบนโรงไม่ยุ่งยากลำบากอย่างที่เคยเล่นกัน จึงมีผู้คิดประยุกต์ประสมประสานเข้ากับหนังเดิม โดยปลูกโรงยกพื้นสูงใช้เสา ๔ เสา
- หลังคาเป็นเพิงหมาแหงน ใช้ผ้าขาวเป็นจอสำหรับเชิดรูป
- คนเชิดก็ลดลงเหลือแค่ ๒ คน นั่งคนละซีกจอ เรียกว่า
“หัวหยวก – ปลายหยวก”
ทำหน้าที่ขับร้องกลอนมุขตลกอีกคนหนึ่ง ซึ่งถ้ามากกว่านี้ก็อาจมีคน
“ชักรูป”
อีกคนหนึ่ง ตำนานระบุว่าผู้เป็นต้นคิดหนังแบบนี้คือ
นายนุ้ย
หรือ
หนุ้ย
บุคคลผู้นี้ บ้างว่าเป็นชาวบ้านควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง บ้างก็ว่าเป็นชาวบ้านดอนควน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง หนังที่คิดขึ้นจึงใช้ชื่อว่า
“หนังควน”
ตามถิ่นกำเนิด แต่บางท่านที่เรียกหนังควนเพราะสถานที่เล่นต้องเลือกที่เนิน ซึ่งทางใต้เรียก ควน ส่วนคำว่า
“หนังตะลุง”
เกิดขึ้นราวสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาพัทลุง (เผือก) นำไปเล่นแถวนางเลิ้ง หนังที่เข้าไปครั้งนั้นนำไปจากจังหวัดพัทลุง คนกรุงเทพจึงเรียกว่า
“หนังพัทลุง”
แล้วเพี้ยนเป็น
“หนังตะลุง”
ต่อมา
- ตามตำนานหนังตะลุงอีกสำนวนหนึ่งระบุว่า ครูต้นของหนังตะลุงคือ
ครูหนักทอง
และ
ครูก้อนทอง
เป็นทหารประจำกองช้างศึก (บางตำนานว่าเป็นคนเลี้ยงช้างประจำกองช้างศึก) ของเมืองนครศรีธรรมราช เป็นผู้นำแบบอย่างการเล่น
“วายัง”
จากชาวชวามาเล่นที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นครั้งแรก ต่อมาการละเล่นแบบอย่างดังกล่าว ได้กลายมาเป็นหนังตะลุงแบบภาคใต้ บรรดาหนังตะลุงยุคหลังถือว่าหนักทองและก้อนทอง เป็นครูหนังตะลุงคนแรก ซึ่งปรากฏอยู่ในบทไหว้ครูหนังตะลุงหลายคณะ เช่นหนังเอียด ปากพน หนังเขียวเฒ่า หนังอิ่ม ห้วยลึก หนังกั้น ทองหล่อ เป็นต้น
โอกาสและกำหนดเวลาเล่น
- เดิมหนังตะลุงนิยมเล่นในงานสมโภชหรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ แต่งานมงคล เช่นงานแต่งงาน ไม่นิยมเล่น ปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวได้คลี่คลายลง หนังตะลุงนิยมเล่นในงานรื่นเริงต่าง ๆ มีการประชันขันแข่งกัน ถ้าเป็นงานศพไม่นิยมเล่น เพราะทุกคนกำลังโศกเศร้า แต่ถ้าเป็นงานศพแห้งหรือทำบุญกระดูกก็สามารถเล่นได้
องค์ประกอบในการเล่น
๑. คณะหนัง
ประกอบด้วยบุคคล ๘-๙ คน แต่เดิมใช้คนพากษ์ ซึ่งเรียกว่า
“นายหนัง”
๒ คน ทำหน้าที่ในการร้องกลอน บรรยายเจรจาและเชิดรูปเบ็ดเสร็จ แต่บางคณะคนเชิดรูปจัดไว้ต่างหากคนหนึ่งเรียกว่า
“คนชักรูป”
นอกจากนั้นยังมี
“หมอกบโรง”
๑ คน เป็นหมอไสยศาสตร์ประจำคณะ ที่เหลืออีก ๕ คน เป็นลูกคู่ถ้าเป็นพิเศษอาจมีคนแบกแผงรูปอีก ๑ คน ปัจจุบันนายหนังมีเพียงคนเดียว ทำหน้าที่ทั้งเชิดรูปและพากษ์เองเบ็ดเสร็จหมอกบโรง (หมอ-กบ-โรง) ก็ตัดไป เพราะความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์คลี่คลายไปมาก ส่วนคนแบกแผงไม่ต้องมี เนื่องจากมียานพาหนะสะดวกในการเดินทาง อย่างไรก็ตาม จำนวนคนในคณะยังเท่าเดิม เพราะเพิ่งเครื่องคนตรีและของใช้ต่าง ๆ มากขึ้น
๒. เครื่องดนตรี
เดิมใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้น ที่สำคัญมีทับ ๑ คู่ เป็นตัวคุมจังหหวะและทำนอง โหม่ง ๑ คู่ สำหรับประกอบเสียง ร้องกลอน กลองตุ๊ก ๑ ใบ สำหรับขัดจังหวะ ทับ ฉิ่ง ๑ คู่ สำหรับขัดจังหวะโหม่ง และปี่ ๑ เลา สำหรับเดินทำนอง แต่ระยะหลังมีเครื่องดนตรีอื่น ๆ เข้าไปประสมประสานหรือใช้แทนเครื่องดนตรีดั้งเดิม เช่น ใช้กลองชุดและกลองทอมบ้าแทนกลองตุ๊ก ใช้ไวโอลิน ออร์แกน กีต้าร์ ซอ หรือจะเข้ เข้าไปผสมกับปี่ บางคณะเลิกใช้ปี่ไปเลย
๓. โรงหนังและอุปกรณ์ในโรงหนัง
โรงหนังตะลุงเป็นเรือนชั่วคราว ยกเสา ๔ เสา ยกพื้นเลยศีรษะเล็กน้อย หลังคาเป็นแบบเพิงหมาแหงน ขนาดโรงประมาณ ๒.๓๐ x ๓ เมตร ด้านหน้าขึงจอผ้าขาว ด้านข้างกั้นอย่างหยาบ ๆ ด้วยทางมะพร้าวหรือจาก ภายใจโรงมีหยวก วางชิดจอสำหรับปักรูป ๑ ต้น มีเครื่องให้แสงสว่าง สมัยก่อนใช้ไต้แล้วพัฒนามาเป็นตะเกียงไขวัว ตะเกียงเจ้าพายุ และ ไฟฟ้าตามลำดับ โดยแขวนไว้ตรงช่วงกลางจอ ห่างจากจอราว ๑ ศอก สูงจากพื้นโรงพอ ๆ กัน
๔. รูปหนัง
มีโดยเฉลี่ยคณะละประมาณ ๑๕๐ – ๒๐๐ ตัว รูปหนังที่ต้องมีได้แก่ ฤาษี พระอิศวร ปรายหน้าบท เจ้าเมือง พระ นาง ยักษ์ ตัวตลก รูปหนังจะเก็บไว้ในแผงอย่างเป็นระเบียบ คือ จัดรูปประกอบที่ไม่สำคัญ ซึ่งเรียกว่า “รูปกา ไว้ล่าง ส่วนรูปสำคัญและรูปศักดิ์สิทธิ์ไว้บน และจัดเป็นพวก ๆ ไม่ปนกันเช่น พระพวกหนึ่ง นางพวกหนึ่ง และยักษ์พวกหนี่ง ทั้งนี้ฤาษีและรูปศักดิ์สิทธิ์ต้องไว้บนสุดของแผง
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
อกตํ ทุกฺกฏํ เสยโย......ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า
หน้า:
1
[
2
]
ทั้งหมด
พิมพ์
Siamsouth.com ศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว ธรรมะ ภาคใต้
>
ภาคใต้
>
ศิลปวัฒนธรรม ภาคใต้
> หัวข้อ:
ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
เรารักในหลวง
-----------------------------
=> ในหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์ และราชวงศ์จักรี
-----------------------------
ธรรมมะ และข้อคิดต่างๆในการใช้ชีวิตของพุทธศาสนา
-----------------------------
=> พระไตรปิฏก
===> ทศชาติชาดก
===> พุทธวจนะในธรรมบท (เสฐียรพงษ์ วรรณปก)
===> พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ www.84000.org
===> พุทธประวัติ
===> ไตรภูมิพระร่วง
=> ธรรมะที่ถูกต้องตามหลักพระไตรปิฏก
=> คำสอนและบทความทั่วไปเกี่ยวกับพุทธศาสนา
===> ข้อมูลด้านวิชาการเกี่ยวกับพุทธศาสนา
===> ตำนานพระปริตร
===> Dhamma English Version
===> พุทธมหายาน วัชรยาน
===> พุทธศาสนา นิกายเซ็น
=> ธรรมะจากสวนโมกข์
=> ประวัติเกจิอาจารย์และเรื่องราวต่างๆของเกจิอาจารย์
===> วัดวาอารามและ พระพุทธรูปสำคัญ
===> วัดป่านาคำน้อย
=> เรื่องแปลก และเรื่องราวลึกลับ
===> เทพเจ้าจีน โหราพยากรณ์และฮวงจุ้ย
===> พระเครื่อง วัตถุมงคล
=> ประชาสัมพันธ์..สายธารน้ำใจและกิจกรรมทำดี
===> หนังสือธรรมะ
===> เสียงธรรม และไฟล์ Download
===> ข่าวสารเกี่ยวกับพุทธศาสนา
-----------------------------
ประวัติศาสตร์ไทย
-----------------------------
=> บุคคลในประวัติศาสตร์และบุคคลที่น่าสนใจ
===> การแสดงร้อง รำ และดนตรีไทย
=> ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย วัฒนธรรม ประเพณี
-----------------------------
เรื่องทั่วๆไปที่คนไทยควรรู้
-----------------------------
=> ห้องสมุด
===> กลอน กวี ที่น่าสนใจ
===> ภาษาไทยและวรรณกรรมไทย
===> นิทานเด็ก นิทานสอนใจ
===> แนะนำห้องสมุด
=> บทความสาระความรู้และเรื่องราวทั่วๆไป สัพเพเหระ
===> บทความ เรื่องสั้น ที่เกี่ยวกับความรัก
===> เรื่องราวดีๆ สร้างเสริมกำลังใจ ต่างๆ
=> คำสอนทั่วไปของศาสนาอิสลาม
-----------------------------
ข่าวสารทั่วไป ข่าวต่างประเทศ
-----------------------------
=> ข่าวสารประจำวัน
===> ข่าวต่างประเทศ สาระจากต่างแดน
===> ข่าวการศึกษา โรงเรียนและครู
-----------------------------
ศิลปวัฒนธรรม
-----------------------------
=> กรุงเทพมหานครและภาคกลาง
===> ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครและภาคกลาง
=> ศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ
===> สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยวภาคเหนือ
=> ศิลปวัฒนธรรมภาคอีสาน
===> สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยวภาคอีสาน
===> ชนเผ่าไท (Tai) โดย Laos KBS
=> ภาคตะวันออก
===> สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยวภาคตะวันออก
-----------------------------
จีน 中国
-----------------------------
=> Liu Yu Xi - อาปิง
-----------------------------
ภาคใต้
-----------------------------
=> ศิลปวัฒนธรรม ภาคใต้
===> การละเล่น/เรื่องเล่าภาคใต้ (นิทานพื้นบ้าน) ต่างๆในภาคใต้
===> อาหารท้องถิ่น ภาคใต้
=> ชุมพร
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดชุมพร
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.ชุมพร
=> ระนอง
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดระนอง
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.ระนอง
=> สุราษฎร์ธานี
===> พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา
===> ข่าวสารทั่วไป พบปะพูดคุย สุราษฎร์ธานี
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.สุราษฏร์ธานี
=> นครศรีธรรมราช
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดนครศรีธรรมราช
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.นครศรีธรรมราช
=> กระบี่
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดกระบี่
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.กระบี่
=> ตรัง
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดตรัง
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.ตรัง
=> พังงา
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดพังงา
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.พังงา
=> ภูเก็ต
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดภูเก็ต
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.ภูเก็ต
=> พัทลุง
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดพัทลุง
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.พัทลุง
=> สงขลา
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดสงขลา
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.สงขลา
=> สตูล
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดสตูล
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.สตูล
=> ปัตตานี
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดปัตตานี
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.ปัตตานี
=> ยะลา
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดยะลา
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.ยะลา
=> นราธิวาส
===> ข่าวสารทั่วไปของจังหวัดนราธิวาส
===> ข่าวสารการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จ.นราธิวาส
-----------------------------
บทความสาระความรู้
-----------------------------
=> ข่าวสารวงการสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยี มือถือ
=> Internet Web Site
===> โปรแกรม และเทคนิคเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ
-----------------------------
อนุรักษ์พลังงาน สัตว์ป่า และทรัพยากรธรรมชาติ
-----------------------------
=> อนุรักษ์ป่าไม้สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
=> รวมพลังลดโลกร้อนรักษาสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน
=> ไม้ดอก ไม้ประดับ ปลาสวยงามและสัตว์เลี้ยง
===> รวมพันธุ์สัตว์
===> รวมพันธุ์ไม้น่ารู้
=> การเกษตร,การประมง,เศรษฐกิจพอเพียง
===> สวนลุงเดช วนเกษตร ท่าข้าม
-----------------------------
สุขภาพและอาหารการกิน
-----------------------------
=> สุขภาพ
===> รักสวยรักงาม
=> สมุนไพรไทย
=> อาหารการกินและร้านอาหาร
===> วิธีการทำอาหาร
-----------------------------
ดนตรีและเสียงเพลง
-----------------------------
=> ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องดนตรีสากล
=> ข่าวสารวงการเพลง
=> ข่าวสารทั่วไปในวงการเพลงสตริงเพลงร็อค ขวัญใจวัยโจ๋
=> ข่าวสารวงการลูกทุ่ง
===> คนเบื้องหลัง
===> ตำนานลูกทุ่งไทย
===> ข่าวคลุกวงในโดย เอ พีราวุธ สว่างวิทย์
===> เพลงไทยเก่าๆ
=> เฮฮาประสาเพื่อชีวิต
-----------------------------
กีฬา บันเทิง และความสุขยามว่าง
-----------------------------
=> ข่าวกีฬาทั่วโลก
=> เกมส์ การ์ตูน ของเล่น ของสะสม และความทรงจำวัยเด็ก
===> เรารักรถไฟ
===> มอเตอร์สปอร์ต
=> วิจารณ์ภาพยนตร์และข่าวสารวงการบันเทิง
=> ขำขัน
-----------------------------
เดินทาง ท่องเที่ยว
-----------------------------
=> บทความ ข่าวสาร การท่องเที่ยว
===> ท่องเที่ยวเมืองนอก
=> บันทึกการเดินทางของเพื่อนสมาชิก
===> Siamsouth ท่องเที่ยว เดือนธันวาคม 2552...ภูกระดึง
===> Siamsouth ท่องเที่ยว เดือนธันวาคม 2553 ทัวร์นกขมิ้น
=> รวมภาพประทับใจ กล้อง งานศิลปะ
===> กล้องถ่ายรูปและเทคนิคการถ่ายภาพ
===> ศิลปินและงานศิลปะ
-----------------------------
จากเพื่อนถึงเพื่อน (บางหัวข้อ ต้องเป็นสมาชิกก่อนถึงจะมองเห็น)
-----------------------------
=> Siamsouth in English
=> ทำไป บ่นไป เรื่องราวผ่านชีวิต นายนภดล มณีวัต
=> คุยกับคุณาพร
=> รวมบทความและเรื่องสั้นจากสมาชิก(สำหรับบุคคลทั่วไป)
=> แผนกอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
กำลังโหลด...